วันศุกร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

การเข้าถึงความงามในงานสถาปัตยกรรม

สถาปัตยกรรมคือผลงานศิลปะที่เน้นความงามทางด้านรูปร่างรูปทรง พื้นที่ว่างและประโยชน์ใช้สอยเป็นหลัก อีกทั้งเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงสภาพภูมิศาสตร์ของแต่ละแห่งได้เป็นอย่างดี ในที่นี้ผู้เขียนจะยกตัวอย่างของการเข้าถึงความงามในงานสถาปัตยกรรมของไทยได้แก่ เรือนไทยทับขวัญ จังหวัดนครปฐม เป็นเรือนหมู่ที่ประกอบด้วยเรือนหลายหลังเชื่อมต่อกันด้วยลานตรงกลางที่มีการเล่นพื้นต่างระดับเพื่อแยกพื้นที่ใช้สอยในแต่ละส่วนโดยทั่วไปเรือนไทยจะมีการยกพื้นสูงเพื่อให้ใต้ถุนเรือนโปร่งสำหรับใช้สอยประกอบกิจกรรรมอื่น ๆ วัสดุที่ใช้ปรุงเรือนทำจากไม้และกระเบื้องดินเผา เดิมทีช่างคงใช้การทำเบ้าและเดือยเพื่อให้ชิ้นส่วนต่างๆ ประกอบยึดแน่นเข้าด้วยกัน โดยทั่วไปความงามของเรือนไทยอยู่ที่สัดส่วน รูปทรง พื้นที่ว่างและการแบ่งพื้นที่ใช้สอยได้อย่างเหมาะสมลงตัว สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ ส่งผลให้ผู้ดูรู้สึกได้ถึงความสง่างาม สงบร่มรื่น ความอ่อนน้อม เมื่อพิจารณาความอ่อนช้อยที่ปรากฏในความรู้สึกเกิดจากเส้นสายอ่อนโค้งต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นต้นเสาสอบเรียวเนียนกลมกลึง ส่วนโค้งของป้านลมหลังคาที่พุ่งสูงขึ้นสู่ฟ้า เส้นโค้งที่ตวัดขึ้นของตัวเหงาและความละเอียดของฝีมือการเข้าไม้ชิ้นเล็กชิ้นน้อยเป็นฝาปะกน รวมทั้งลวดลายการแกะสลักของหย่องหน้าต่าง
นอกจากนี้ยังมีความโดดเด่นของสัดส่วนอีกหลายประการ เช่น สัดส่วนที่พอเหมาะพอดีของช่องหน้าต่างกับตัวเรือน ชานเรือนที่เปิดโล่งสู่ท้องฟ้า หลังคาที่มีมิติเหลื่อมซ้อนกันอย่างมีจังหวะ สัดส่วนของปีกนกที่แผ่ออกจากตัวเรือน ฯลฯ องค์ประกอบเหล่านี้ล้วนทำให้บ้านทรงไทยมีความสง่างามและความประณีตบรรจง แต่ทว่าสิ่งเหล่านี้กลับดูสงบนิ่งกลมกลืนไปกับบรรยากาศของแมกไม้
เมื่อพิจารณาถึงความงามในแง่คุณค่าทางสังคมและวัฒนธรรมพบว่าเรือนไทยหลังนี้สะท้อนให้เห็นถึงแนวคิดและวิถีการดำรงชีวิตของบรรพบุรุษของเราได้เป็นอย่างดี กล่าวคือ ในอดีตสังคมชาวไทเป็นสังคมที่ดำรงชีวิตด้วยการทำนา อาศัยอยู่ใกล้แหล่งน้ำ เป็นสังคมที่ลงหลักปักฐานอยู่บนที่ดินที่ค่อนข้างถาวร ในสังคมเช่นนี้ผู้คนต่างมีเวลาว่างจากการทำนามาค่อย ๆ พัฒนาที่อยู่อาศัย จากการสังเกตทิศทางลม แนวโคจรของพระอาทิตย์ ฤดูกาลน้ำขึ้นน้ำลง วัสดุในธรรมชาติ ฯลฯ นำมาประยุกต์ปรับเปลี่ยนและพัฒนาที่อยู่อาศัยจนเกิดความประณีตสวยงามในรายละเอียดและเหมาะสมสอดคล้องสภาพแวดล้อมธรรมชาติ ดังนั้นจึงมีคุณค่าอย่างสูงในแง่ของวัฒนธรรมโดยเฉพาะเป็นสิ่งที่แสดงถึงภูมิปัญญาท้องถิ่นของคนไทยในอดีต
ต่อไปจะยกตัวอย่างการเข้าถึงความงามในงานสถาปัตยกรรมตะวันตก เช่น โบสถ์เซนต์ปีเตอร์ กรุงวาติกัน ประเทศอิตาลีโบสถ์เซนต์ปีเตอร์เป็นโบสถ์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกสร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกถึงนักบุญปีเตอร์ผู้นำศาสนาคริสต์เข้าไปเผยแพร่ในประเทศอิตาลี รูปแบบของสถาปัตยกรรมที่เห็นอยู่ในปัจจุบันได้รับการออกแบบจากสถาปนิกหลายท่านซึ่งล้วนเป็นศิลปินเอกของโลก ฐานรากของโบสถ์เซนต์ปีเตอร์ถูกสร้างขึ้นครั้งแรกในปี ค.ศ.1506 และได้รับการก่อสร้างต่อเติมเรื่อยมา ในช่วงเวลาหนึ่งไมเคิล แองเจลโลได้มีส่วนในการออกแบบโดมขนาดใหญ่เพื่อให้จุคนได้จำนวนมาก โดมดังกล่าวมีความสูงราว 452 ฟุตซึ่งท้าทายวงการสถาปัตยกรรมในช่วงเวลานั้นอย่างมากในการแก้ปัญหาเรื่องการรับน้ำหนัก ไมเคิล แองเจลโลเสียชีวิตลงก่อนที่การสร้างโบสถ์จะเสร็จเรียบร้อย
ในปี ค.ศ. 1656 เบอร์นินี่ (Gianlorenzo Bernini) ศิลปินและสถาปนิกคนสำคัญในสมัยบาโรคได้ออกแบบต่อเติมลายเฉลียงด้านหน้าและบันไดทางขึ้น รวมทั้งต่อเติมระเบียงทางเดินที่ประกอบด้วยเสาหินโปร่งโล่ง เบื้องบนเป็นหลังคาคลุม บนหลังคาประดับด้วยประติมากรรมรูปนักบุญต่าง ๆ อย่างงดงาม เมื่อมองจากแผนผังจะพบว่าคล้ายกับแขนและมือที่ยื่นออกมาจากโบสถ์เซนต์ปีเตอร์เข้าโอบกอดลานกว้างหน้าโบสถ์ เข้าใจว่าเบอร์นินี่เจตนาออกแบบให้เป็นสัญลักษณ์พระหัตถ์ของแม่พระผู้บริสุทธิ์โอบอุ้มคริสต์ศาสนิกชนทั้งหลายผู้เดินทางมาแสวงบุญยังมหาวิหารแห่งนี้
เมื่อพิจารณาในแง่ของความงามพบว่ามีการวางแผนผังที่พุ่งเข้าสู่ศูนย์กลางโดยใช้แนวทางเดินเชื่อมต่อด้วยระเบียงที่โอบล้อมอยู่ด้านหน้าเป็นเส้นนำสายตาให้พุ่งเข้าหาตัวโบสถ์ ลานกว้างที่อยู่ด้านหน้าทำหน้าที่เป็นพื้นที่ว่างขับให้รูปทรงของตัวอาคารขนาดมหึมามีปริมาตรที่ชัดเจน หนักแน่นมั่นคงและน่าเกรงขาม รายละเอียดของเหล่าประติมากรรมที่ประดับบนหลังคาของระเบียงทางเดินที่เป็นตัวแทนของเหล่าสาวกต่าง ๆ เมื่อมองจากด้านล่างแลดูสง่างามและตัดกับฉากหลังที่เป็นท้องฟ้า
ภายในอาคารมีการแตกแต่งด้วยงานปูนปั้นระบายสี งานประดับหินสี (Mosaic) และงานประติมากรรมอย่างวิจิตรอลังการ บริเวณกลางอาคารมีโดมขนาดมหึมา ภายใต้โดมมีการสร้างบรรยากาศความศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนาด้วยเจาะช่องหน้าต่างเพื่อเปิดรับแสงบริเวณฐานโดมโดยรอบ เพื่อทำให้ผู้คนที่อยู่ภายในเมื่อมองขึ้นไปบนหลังคาโดมเกิดความรู้สึกเหมือนล่องลอยอยู่บนสรวงสวรรค์อันศักดิ์สิทธิ์ของพระเป็นเจ้า โดยทั่วไปตามความเชื่อของศาสนาคริสต์โบสถ์คือการจำลองอาณาจักรของพระเป็นเจ้า เป็นอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่วิจิตรและอลังการที่ทำให้มนุษย์รู้สึกว่าตนเองเป็นเพียงสิ่งเล็กน้อยเมื่อเทียบกับอาณาจักรของพระองค์ ดังนั้นความงามในงานสถาปัตยกรรมของโบสถ์เซนต์ปีเตอร์ที่สถาปนิกได้ทำสำเร็จอย่างหนึ่งคือการถ่ายทอดความวิจิตรอลังการของอาณาจักรของพระเป็นเจ้าได้อย่างสมบูรณ์แบบ
เมื่อพิจารณาความงามในแง่คุณค่าทางสังคมและวัฒนธรรมพบว่า การก่อสร้างสถาปัตยกรรมอันยิ่งใหญ่เช่นมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ได้นั้น จำเป็นต้องใช้ทั้งเวลา แรงงาน เงินทองและอำนาจบารมีมหาศาลจึงจะลุล่วงไปได้ ทำให้เห็นถึงความมั่นคงของสถาบันศาสนาและอำนาจบารมีของพระศาสนาจักรโรมันคาทอลิกที่แผ่กว้างไปทั่วยุโรป นอกจากนี้ยังสะท้อนเห็นถึงสภาพสังคมยุโรปในขณะนั้นว่าเป็นยุครุ่งเรืองแห่งศิลปะวิทยาการ เป็นยุคแห่งการท้าทายภูมิปัญญาของมนุษย์ในการเอาชนะอุปสรรคต่าง ๆ อีกทั้งเป็นสัญลักษณ์ทางศาสนา แสดงถึงความมีเอกภาพ ความสงบ ความหวังและความมั่นคงเหนือเหตุการณ์ทางการเมืองที่แปรปรวนในสังคมยุโรปในช่วงเวลานั้น และเป็นศูนย์กลางในการรวมวิญญาณของชาวคริสเตียนทั้งหมดตราบจนถึงทุกวันนี้
เห็นไหมว่าการดูงานศิลปะ แท้จริงแล้วนอกจากเราจะดูว่างามหรือไม่งาม สวยหรือไม่สวยแล้ว ยังมีคุณค่าอีกหลายที่เราควรพิจารณา เช่น คุณค่าด้านองค์ประกอบศิลป์ วัสดุหรือเทคนิคการสร้าง แนวคิดของตัวศิลปินเอง หรือสภาพของสังคมที่สะท้อนออกมาในงานศิลปะนั้น ๆ

การเข้าถึงความงามในงานประติมากรรม

การเข้าถึงความงามในงานประติมากรรม
ลักษณะความงามในงานประติมากรรมไทยอยู่ที่ความประณีตและอ่อนหวาน ในที่นี้จะยกตัวอย่างการเข้าถึงความงามในงานพระพุทธรูปแบบสุโขทัยพระพุทธรูปลักษณะเช่นนี้จัดอยู่ในศิลปะสุโขทัยที่เจริญอยู่ในบริเวณภาคเหนือตอนล่างของไทยราวพุทธศตวรรษที่ 19 - 20 และเป็นพุทธศิลป์ที่ได้รับการยกย่องว่างามที่สุดสมัยหนึ่ง เทคนิคการสร้างคือการหล่อสำริดและเป็นเทคนิคการหล่อกลวง กล่าวคือเนื้อวัสดุที่เป็นโลหะจะปรากฏเป็นรูปทรงที่มองเห็นภายนอก ปริมาตรภายในไม่ทึบตัน เริ่มแรกช่างจะต้องเตรียมต้นแบบขึ้นโกลนพระพุทธรูป จากนั้นนำขี้ผึ้งมาปั้นโดยเก็บรายละเอียดอย่างประณีตบรรจง ขั้นตอนนี้มีความละเอียดอย่างมากเนื่องจากส่วนที่เป็นขี้ผึ้งจะถูกแทนที่ด้วยเนื้อโลหะ เมื่อเสร็จแล้วจึงทำพิมพ์ครอบและยึดพิมพ์ชั้นนอกกับต้นแบบข้างในไม่ให้เคลื่อนที่หลุดออกจากกัน จากนั้นจึงเตรียมฉนวนสำหรับการเทเนื้อโลหะ เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการดังกล่าวจึงนำไปสุมไฟเพื่อสำรอกให้ขี้ผึ้งละลายออกมาแล้วจึงค่อยเทเนื้อโลหะที่หลอมเหลวเข้าไปแทนที่ ทิ้งไว้จนแห้งจึงค่อยแกะพิมพ์และขัดตกแต่งผิวหน้าให้เรียบเสมอกัน จากนั้นจึงมีการทาด้วยน้ำรักและปิดทองให้สวยงาม
จากขั้นตอนดังกล่าวเห็นได้ว่ามีความซับซ้อนยิ่งช่างผู้สร้างต้องมีความอุตสาหะประกอบกับฝีมือ ความชำนาญและความศรัทธาอย่างมาก จึงจะสามารถสร้างงานศิลปะเช่นนี้ให้สำเร็จได้
เมื่อพิจารณาความงามทางด้านองค์ประกอบศิลปะพบว่าช่างผู้สร้างได้ใช้เส้นโค้งได้อย่างเหมาะเจาะลงตัว ปริมาตรของประติมากรรมไม่ดูทึบตันแต่มีรูปทรงโค้งรับกันไปมาไม่ว่าจะเป็นเส้นโค้งที่ประกอบกันเป็นพระพักตร์รูปไข่ เส้นไรพระศกที่โค้งจรดกันเป็นมุมแหลมที่กลางพระนลาฏ เส้นพระขนงโค้งล้อไปตามเส้นไรพระศกและวาดต่อลงมาที่พระนาสิกซึ่งโด่งรับกับวงพระพักตร์ ลักษณะของพระเนตรหลุบต่ำแสดงอาการสงบนิ่ง มุมพระโอษฐ์ยกขึ้นเล็กน้อยเพื่อแสดงถึงความเมตตากรุณาที่มีต่อสรรพสัตว์ทั้งหลาย
เมื่อเราพิจารณาถึงสาระหรือแนวคิดทางพุทธศาสนาที่สะท้อนอยู่ในงานประติมากรรมเราจะพบว่าช่างผู้สร้างได้ถ่ายทอดแนวคิดของพุทธศาสนาแบบเถรวาทได้เป็นอย่างดี เนื่องจากหลักสำคัญสูงสุดคือการประกอบกรรมดีเพื่อให้บรรลุถึงนิพพานซึ่งก็คือการหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด กรรมดีดังกล่าวผู้กระทำต้องประพฤติปฏิบัติด้วยตนเอง มิใช่การกราบไหว้บูชาหรืออ้อนวอนสิ่งใด แนวคิดนี้สะท้อนให้เห็นในงานประติมากรรมคือความงามที่สงบเรียบง่าย ไร้การตกแต่งใด ๆ ส่งเสริมให้จิตใจเกิดความสงบและมีสมาธิ ความสงบเรียบง่ายนี้ยังสะท้อนให้เห็นถึงสภาพสังคมของสุโขทัยว่าเป็นสังคมที่สงบสุขร่มเย็นตามลักษณะการปกครองแบบพ่อปกครองลูกได้เป็นอย่างดี
ปัจจุบันนี้หากเราได้มีโอกาสเดินตามแหล่งเช่าพระพุทธรูปแหล่งใหญ่ ๆ ในกรุงเทพฯ เช่น ตรอกวัดสุทัศน์ ฯลฯ เราจะพบว่าพระพุทธรูปที่ได้รับการสร้างขึ้นใหม่ส่วนใหญ่จะเลียนแบบความงามของศิลปะแบบสุโขทัยทั้งสิ้นเนื่องจากความงามดังกล่าวเป็นความงามที่ลงตัวและสะท้อนสาระทางพุทธศาสนาได้อย่างเหมาะสมที่สุดนั่นเอง
ต่อไปจะยกตัวอย่างประติมากรรมตะวันตก ได้แก่งาน “The Kiss” ของ โอกุสต์ โรแดง (Auguste Rodin)โอกุสต์ โรแดงเป็นศิลปินชาวฝรั่งเศส เกิดในกรุงปารีสช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 เขาได้สร้างประติมากรรม “The Kiss” ขึ้นในปี ค.ศ. 1886 ด้วยเทคนิคการแกะสลักจากหินอ่อน ผลงานดังกล่าวมีขนาดราว 75 X 47 X 45 นิ้ว กล่าวกันว่าประติมากรรมของโรแดงส่วนใหญ่ได้รับแรงบันดาลใจจากไมเคิล แองเจลโล ศิลปินผู้ยิ่งใหญ่ในสมัยเรอนาซอง
เมื่อศึกษาความงามทางด้านองค์ประกอบศิลปะพบว่าศิลปินได้มีการจัดวางรูปทรง 2 รูปทรงและท่าทางของประติมากรรมได้อย่างสอดประสานกลมกลืน มีการแสดงลักษณะทางกายวิภาคของมนุษย์เพศชายและหญิงได้อย่างสมส่วนโดยปราศจากความรู้สึกทางโลกีย์ มีการใช้เส้นแสดงความเคลื่อนไหวไปมาทำให้เกิดความเชื่อมโยงระหว่างรูปทรง รูปทรงทั้ง 2 โน้มเข้าหากันและต่างรับน้ำหนักซึ่งกันและกันไว้อย่างทะนุถนอม สีขาวของงานประติมากรรมเมื่อสัมผัสกับแสงทำให้เกิดน้ำหนักเข้ม – อ่อนที่ไล่ระดับกันอย่างชัดเจน ประกอบกับพื้นผิวขององค์ประกอบหลักในภาพได้รับการขัดแต่งอย่างเรียบเนียนยิ่งส่งผลให้เกิดความรู้สึกนุ่มนวล ละมุนละไม สอดคล้องกับเนื้อหาที่ศิลปินต้องการถ่ายทอดความรู้สึกของคู่รักชาย – หญิงที่กำลังจูบกันอย่างดูดดื่ม
อย่างไรก็ดีศิลปินได้ควบคุมความนุ่มนวลอ่อนหวานที่อาจมีมากเกินไปในงานประติมากรรมด้วยการจัดวางท่าทางของบุคคลบนแท่งหินหรือก้อนหินที่มีขนาดกว้างดูเทอะทะและมีพื้นผิวที่ขรุขระหยาบกระด้างทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างรูปทรงชายหญิงทั้ง 2 ที่ได้รับการขัดแต่งอย่างประณีต แต่ความขัดแย้งดังกล่าวยิ่งเป็นตัวเสริมให้เกิดจุดเด่นที่องค์ประกอบหลักของงานและส่งผลให้งานชิ้นนี้มีเอกภาพในการจัดวางองค์ประกอบทางศิลปะได้อย่างสมบูรณ์แบบที่สุดชิ้นหนึ่ง
เมื่อพิจารณาถึงความงามในแง่ของคุณค่าทางสังคมและวัฒนธรรมนับว่ามีค่าสูงยิ่งเนื่องจากเป็นตัวแทนของโลกยุคใหม่ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งเป็นช่วงสำคัญของการเปลี่ยนแปลงในวงการศิลปะของยุโรปที่กำลังก้าวเข้าสู่การทดลองและการแสวงหาแนวทางในการนำเสนอสิ่งใหม่ ๆ ต่อสังคม มีการให้ความสำคัญกับความคิดและจิตวิญญาณของมนุษย์มากขึ้นจนเกิดเป็นลัทธิทางศิลปะแบบอิมเพรสชั่นนิสม์ที่เป็นภาพสะท้อนถึงความคิดและความประทับใจของศิลปินที่มีต่อสรรพสิ่งรอบกาย
งานของโรแดงเป็นการผสมผสานเอาลักษณะบางประการของศิลปะสมัยเรอนาซองที่สมบูรณ์แบบในเรื่องการถ่ายทอดลักษณะทางกายวิภาคของมนุษย์ บวกกับแนวคิดที่สะท้อนถึงความรู้สึกอันแสนธรรมดาของปุถุชนทั่วไป เช่น ความรู้สึกรักแบบหนุ่มสาว ความรู้สึกรักชาติ ความไม่สมบูรณ์แบบของร่างมนุษย์ ฯลฯ ผลงานของเขาแสดงถึงโลกที่เปิดเสรีทางความคิดและสะท้อนลักษณะเฉพาะตัวซึ่งเป็นหัวใจในการนำเสนอผลงานในวงการศิลปะสมัยใหม่สืบมา

การเข้าถึงความงามในงานจิตรกรรม

การเข้าถึงความงามในงานจิตรกรรม
ลักษณะความงามในงานจิตรกรรมไทยประเพณีอยู่ที่ความประณีตสวยงาม แสดงความรู้สึกถึงความมีชีวิตจิตใจและความเป็นไทยที่มีความอ่อนโยนละมุนละไมจนเกิดเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ ตัวอย่างของงานจิตรกรรมไทย เช่นภาพมารผจญ ที่พระที่นั่งพุทไธสวรรย์กรุงเทพฯ

งานจิตรกรรมชิ้นนี้ใช้เทคนิคสีฝุ่น (Tempera) ในการวาด เริ่มแรกช่างต้องเตรียมฝาผนังปูนด้วยการนำใบขี้เหล็กสดมาตำกรองน้ำมาล้างผนังหลาย ๆ ครั้งเพื่อล้างความเค็ม เมื่อผนังแห้งใช้ขมิ้นชันสดลองขีดบนผนังถ้าเป็นสีแดงแสดงว่าผนังยังคงมีความเค็มอยู่ ถ้าเป็นสีเหลืองแสดงว่าผนังหมดความเค็มใช้การได้ จากนั้นนำเม็ดมะขามมาคั่วแล้วต้มจนกลายเป็นแป้งเปียกผสมกับดินสอพองทาบนผนัง เมื่อแห้งแล้วจึงใช้กระดาษขัดพื้นให้เรียบเสมอกันแล้วจึงลงมือร่างภาพ ระบายสี ปิดทองแล้วจึงตัดเส้น
เนื้อหาในภาพเป็นตอนหนึ่งในพุทธประวัติที่รู้จักกันว่า “มารผจญ” หรือ “มารวิชัย” เป็นตอนที่พระพุทธองค์ใกล้บรรลุโพธิญาณแต่มีพญามารเข้ามาขัดขวาง ทำให้พระองค์ต้องเรียกพระแม่ธรณีขึ้นมาเป็นพยานในการทำความดี และช่วยปราบเหล่ามารให้พ่ายแพ้ไป บริเวณตรงกลางด้านบนเป็นพระพุทธองค์ประทับนั่งใต้โพธิ์บัลลังก์ ถัดลงมาเป็นพระแม่ธรณีประทับยืนบีบมวยพระเกศา ด้านซ้ายของพระพุทธองค์เป็นกองทัพพญามารและด้านขวาเป็นภาพเหล่ามารที่ถูกน้ำพัดพากระจัดกระจาย
โดยทั่วไปเมื่อเราพิจารณาถึงความงามในงานจิตรกรรมไทย สิ่งที่โดดเด่นที่สุดคือการใช้เส้นที่อ่อนหวาน การตัดเส้นที่มีน้ำหนักอ่อนแก่ รองลงมาอาจเป็นเรื่องของสี รูปร่างรูปทรงและการจัดวางพื้นที่ว่าง ในที่นี้ เส้นโค้งและรูปร่างของเหล่ากองทัพมารที่พุ่งเข้าหาพระพุทธองค์ในทิศทางเดียวกันเป็นการเน้นให้เห็นถึงจุดเด่นที่อยู่ตรงกลาง ในขณะที่อีกด้านหนึ่งของภาพ เส้นโค้งของเหล่ามารที่แลดูเคลื่อนที่อย่างไร้ทิศทางสร้างความรู้สึกโกลาหลสอดคล้องกับเหตุการณ์ในพุทธประวัติ สีแดงชาดที่ช่างใช้เป็นสีของพื้นหลังยิ่งเพิ่มความรู้สึกตื่นเต้นและความสว่างไสว รวมทั้งการปิดทองเพื่อเน้นถึงจุดเด่นในจังหวะที่เหมาะสมทำให้องค์ประกอบทางความงามในงานจิตรกรรมชิ้นนี้สมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น
หากพิจารณาในแง่ของคุณค่าทางสังคมและวัฒนธรรมนับว่ามีค่าสูงยิ่ง เนื่องจากเป็นผลงานที่วาดขึ้นตั้งแต่สมัยเริ่มสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ราวปี พ.ศ.2325 นับถึงเวลานี้เป็นเวลากว่า 200 ปี แม้ว่าจะมีการวาดซ่อมมาโดยตลอดแต่โครงของภาพโดยรวมเชื่อว่าเป็นฝีมือของช่างในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ นอกจากนี้ยังมีคุณค่าในเชิงประวัติศาสตร์อีกหลายด้าน เช่น สะท้อนให้เห็นว่าวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์เป็นที่นิยมในสมัยรัชกาลที่ 1 เนื่องจากจิตรกรเลือกใช้ตัวทศกัณฐ์แทนพระยาวัสวดีมาร หรือจากการที่จิตรกรที่ไม่เคยเห็นว่ามารมีรูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร แต่ก็สามารถวาดภาพมารออกมาให้มีลักษณะที่ต่างกันแสดงถึงความคิดสร้างสรรค์อันชาญฉลาดของช่างผู้วาด ฯลฯ จากคุณค่าต่าง ๆ ที่ยกตัวอย่างมานี้ประกอบกับขั้นตอนที่ยุ่งยากในการสร้างงานจิตรกรรมไทย ทำให้เราเห็นถึงความศรัทธาและความอุตสาหะของคนในสมัยโบราณได้เป็นอย่างดี
ตัวอย่างของงานจิตรกรรมตะวันตก ได้แก่ภาพอาหารเย็นมื้อสุดท้าย (The Last Supper) ของจิตรกร ลีโอนาโด ดาวินชี (Leonado Davinci) วาดในหอฉันของวัดซานตา มาเรีย เดลลา กราซิเอ (Santa Maria delle Grazie) เมืองมิลาน ประเทศอิตาลีในช่วงปี ค.ศ. 1494 – 1497 ใช้สีฝุ่นในการวาด

โดยทั่วไปแล้ว เทคนิคสีฝุ่นที่ใช้วาดบนจิตรกรรมฝาผนังในโลกตะวันตกเป็นเทคนิคการนำสีฝุ่นมาผสมน้ำเขียนบนผนังปูนที่ยังเปียกอยู่ที่มีชื่อเรียกเฉพาะว่า เฟรสโก (Fresco) กล่าวคือศิลปินต้องเตรียมฉาบผนังปูนจำนวนหนึ่งแล้วจึงลงมือร่างภาพระบายสีให้เสร็จทันก่อนผนังปูนจะแห้งลง ซึ่งเป็นเทคนิคที่ต้องการความฉับไวและความแม่นยำอย่างมาก แต่ในงานชิ้นนี้ดาวินชีได้ทดลองเอาน้ำมันมาเป็นตัวผสมกับสีฝุ่นเพื่อต้องการให้สีสดใสและทดลองเขียนบนผนังปูนที่แห้งแล้ว (Laurie Schneider Adams, 2001 : 280)
เนื้อหาที่วาดเป็นเหตุการณ์ตอนหนึ่งของพระคริสต์ เป็นตอนที่พระองค์ถูกไล่ล่าจากทหารโรมันและรับประทานอาหารมื้อสุดท้ายพร้อมกับสาวกอีก 12 องค์ก่อนที่จะถูกจับตัวไป ในภาพพระคริสต์ทรงอยู่ในพิธีฉลองอาหารค่ำของพระเป็นเจ้า และทรงประกาศว่าจะมีสาวกองค์หนึ่งในที่นั้นคิดทรยศโดยบอกที่ซ่อนของพระองค์ต่อทหารโรมัน
องค์ประกอบของภาพมีพระคริสต์อยู่ตรงกลาง พระพักตร์สงบนิ่ง เมื่อสิ้นเสียงคำประกาศของพระองค์เหล่าสาวกทั้ง 12 องค์ที่อยู่ด้านซ้ายและด้านขวาต่างแสดงอากัปกิริยาและสีหน้าที่แตกต่างกันไป บ้างก็แสดงความตระหนกตระหนกใจ บ้างก็โศกเศร้า บ้างก็โน้มตัวเข้าหากันเพื่อปรึกษาหารือ ถ้าเราดูให้ดีจะพบว่าดาวินชีสามารถถ่ายทอดอารมณ์และท่าทางของเหล่าสาวกแต่ละองค์ได้อย่างน่าสนใจ เส้นอันเกิดจากความโกลาหลของบุคคลในภาพที่เคลื่อนไหวไปมาขัดแย้งกับท่าทางของพระคริสต์ที่นิ่งเฉย ฉากหลังมีการใช้หลักการทัศนีวิทยา (Perspective) ให้เส้นพุ่งตรงเข้าหาพระคริสต์ที่อยู่ตรงกลาง ด้านหลังสุดมีหน้าต่างจำนวน 3 บานเผยให้เห็นภาพทิวทัศน์ที่สามารถมองทะลุออกไปไกลช่วยให้งานจิตรกรรมชิ้นนี้มีความลึกคล้ายภาพที่มองเห็นจริงในธรรมชาติ ซึ่งเป็นลักษณะสำคัญของพัฒนาการในงานจิตรกรรมสมัยเรอนาซอง ดาวินชีใช้วิธีการควบคุมโทนสีและบรรยากาศของภาพให้ดูมืดสลัวเพื่อต้องการแสดงบรรยากาศศักดิ์สิทธิ์ลึกลับ และมีการไล่น้ำหนักแสงเงาเลียนแบบธรรมชาติได้อย่างน่าอัศจรรย์
เมื่อพิจารณาถึงคุณค่าความงามในแง่ของสังคมและวัฒนธรรมพบว่ามีค่าสูงยิ่งเนื่องจากเป็นผลงานที่วาดขึ้นตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 15 นับถึงวันนี้เป็นเวลากว่า 500 ปี โดยภาพดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงความศรัทธาในศาสนาคริสต์ที่มีอิทธิพลอย่างสูงต่อสังคมยุโรปในขณะนั้น อีกทั้งเป็นผลงานของศิลปินที่ได้พิสูจน์ตนเองมาแล้วว่ามีความสามารถหลาย ๆ ด้าน เป็นต้นแบบของนักคิดที่พยายามทดลองเทคนิคใหม่ ๆ ในการสร้างผลงานที่สะท้อนให้เห็นถึงความก้าวหน้าทางความคิดของมนุษย์ โดยเฉพาะเป็นสิ่งที่เป็นตัวแทนของความสำเร็จในการแก้ปัญหางานจิตรกรรมให้มีลักษณะ 3 มิติได้อย่างสมบูรณ์ ปัจจุบันภาพดังกล่าวเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของเมืองมิลานที่นักท่องเที่ยวที่ชื่นชมงานศิลปะได้แวะเวียนไปเยี่ยมชมปีละนับล้านคน

ความงามในศิลปะ

ความงามเป็นการสร้าสรรค์ล้วนๆ ไม่เกี่ยวข้องกับความงามวัตถุตามธรรมชาติ เป็นความงามที่แสดงออกได้แม้ในสิ่งที่น่าเกลียด ข้อเรื่องที่สร้างความงามนั้นอาจจะน่าเกลียด แต่เมื่อเป็นงานศิลปะแล้วจะต้องมีสิ่งที่เรียกว่าความงาม หมายถึง อารมณ์ศิลปินแสดงออกนั้นงาม สุนทรีศาสตร์จึงเป็นสุนทรีศาสตร์ที่ว่าด้วยความงามที่ศิลปินแสดงออกในงานศิลปะ ข้อความที่ว่า "ศิลปะมิได้จำลองความงามแต่สร้างความงามขึ้น" นั้นใช้กันมาตั้งแต่สมัยเรอแนส์ซองซ์และยังใช้อยู่ได้จนถึงทุกวัน

ความงามในธรรมชาติ

ธรรมชาติในที่นี้หมายถึงสิ่งตาง ๆ ในโลกหรือจักรวาลที่เกิดขึ้นมีอยูและดับไปดวยตนเองตามวิสัยโลก เชน คน สัตว ตนไม ภูเขา ทะเล ทุงนา ทุงหญา เปนตน ธรรมชาติมีความสวยงามอยูในตัวเพียงแตบางคนไมหยุดดูสังเกตดูอยางพินิจพิเคราะหเทานั้นเอง เราอาจจะเห็นสีเขียวออนของทุงหญาที่กําลังพลิ้วลูลมไหวเอนดูออนนุ่มราวกับพรม หรือเห็นความงามของตนไมที่มีปุมโปน พื้นผิวที่เปลือกนั้นขรุขระ ตนที่สูงชลูดกิ่งกานที่โกรงกรางยืนตนแหงตายอยูทามกลางทุงแหงแลง ฯลฯ เหลานี้ลวนเปนความงามที่ธรรมชาติไดรังสรรคเอาไวอยางพอเหมาะพอดีและกลมกลืน

ความงาม

ความงาม หรือความงดงามเปนสิ่งที่มนุษยทุกชาติทุกภาษาทุกเผาพันธุตองการ เพราะความงามเปนสิ่งสําคัญที่กระตุนใหมนุษยเกิดความจรรโลงใจขณะที่ประสบพบเจอ เชน เราเห็นนางงามจักรวาลผานทางจอโทรทัศน เราทุกคนตางตองการอยากจะพบตัวจริงของเธอ หรือแมแตเวลาที่เราขับรถผานแหลงธรรมชาติที่มีความงาม เราก็อยากจะจอดรถลงชมวิวทิวทัศนที่สวยงาม การไดเสพสิ่งที่สวยงามเปรียบเสมือนไดเสพสิ่งที่เปนทิพย ทําใหชีวิตมีชีวา เกิดความสุนทรียะในขณะเดียวกันหากชีวิตของมนุษยปราศจากประสบการณที่ไมงดงาม ก็อาจทําใหเขากลายเปนบุคคลที่มีบุคลิกภาพเหงา ซึม มองโลกในแงราย ไมราเริงสดใส ดังนั้น ความงามจึงเปนสิ่งที่สําคัญ และจําเปนสําหรับชีวิตของมนุษยเปนอยางมากทีเดียว บางคนถึงขนาดลงทุนดวยเงินที่เก็บออมมาตลอดชีวิตเพื่อไปทําการศัลยกรรมตกแตงรางกายใหดูแลวนาพึงพอใจก็มีใหเห็นในสังคมปจจุบัน เมื่อความงามมีความสําคัญดังกลาวจําเปนที่เราจะตองทําความเขาใจกับความงาม

ความหมายของความงาม
ความงาม ในทางวิชาการเปนปญหาที่ถกเถียงกันมาตลอดประวัติศาสตรอันยาวนาน จนกลายมาเปนศาสตรที่มีการศึกษาเกี่ยวกับความงามอยางเปนระบบ เรียกวา สุนทรียศาสตร กลาวคือ เริ่มมีคนสนใจตั้งคําถามวา ความงามคืออะไร ความงามมาจากไหน การที่จะบอกวางามได มีกฎเกณฑอะไรในการพิจารณาตัดสินความงามนักปราชญหลายทานที่สนใจ ตางพยายามใหความหมายและนิยามในลักษณะตางๆซึ่งสอดคลองกันบางแตกตางกันบางดังนี้โปลตินุส (Plotinus) นักปรัชญากรีกโบราณ ใหอรรถาธิบายไววา ความงามคือความชัดเจนแจมแจงของเหตุผลของพระเจาหรือการแสดงออกของสิ่งสัมบูรณ(Absolute)

ออกัสติน (Augustine) นักคิดทางศาสนาคริสตในยุคกลาง ไดกลาวถึงความงามวา สุดทายแลว ความงามที่มนุษยรับรูดวยประสาทสัมผัสนั้น เปนเพียงความงามที่แสดงออกในภายนอกเทานั้น แตความงามที่สัมบูรณ คือ ความงามที่มนุษยไดรับมาจากการแสดงออกของพระสิริ (Glory)ที่มาจากพระเจา

อไควนัส (Aquinas) นักปรัชญาคนสําคัญของยุคกลางไดอธิบายไววา ความงามคือสิ่งที่ใหเกิดความเพลิดเพลินเมื่อไดรูไดเห็น ความงามและความดี โดยเนื้อแทแลวเปนสิ่งเดียวกัน เพราะทั้งสองอยางขึ้นอยูกับรูปแบบ สัดสวน ระเบียบและความกลมกลืน แตความงามสูงสุดยอมมีที่มา และพระเจาคือผูประทานความงามและความดี

อิมมานูเอลคานต(Immanuel Kant) ถือวาความงามเปนเรื่องของความรูสึกโดยกลาววาความงามก็คือผลของความรูสึกวางามคานตปฏิเสธวาสีมีความงาม เขากลาววามันเปนที่ยอมรับกันอยางนั้นความพึงพอใจซึ่งเปนที่ตกลงกันเกี่ยวกับสีอาจถูกทําใหรูสึกเพลิดเพลินเจริญใจไปตามรูปทรงที่นําพาสีแตทั้งสองนี้(สีและรูปทรง) แตกตางกันเพียงรูปทรงเทานั้นที่มีความงาม(http://midnightuniv.org/midnight 2545/ document9696.html)

สันตายนา (Santayana) นักปรัชญายุคปจจุบันก็มีทรรศนะวา ความงามคือการสรางความรูสึกของอาเวคใหเปนรูปราง กลาวคือ สิ่งที่กระตุนใหประสาทสัมผัสของมนุษยเกิดความรูสึกที่เปนสุนทรียะนั่นเอง
แตแลงเฟลด ถือวา ความงามเปนสิ่งที่สัมพัทธ เขากลาววา ความงามคือสัมพันธภาพระหวางสิ่งทั้งสองสิ่งคืออินทรียของมนุษยกับวัตถุแหงสุนทรียะมีความสัมพันธกันอยางเหมาะสมไอเยนจาร (Iyengar) มีทรรศนะ คลาย ๆ แลงเฟลด เขาอธิบายไววา ความงาม คือความพอใจอันเกิดจากความประทับใจในความกลมกลืนกันอยางพอเหมาะของรูปทรงอันชวนคิดของศิลปวัตถุกับความหมายของอาเวคหรือความคิดที่ทําใหใจเพลิดเพลินอยางลึกซึ้ง ฉะนั้น ความงามจึงเปนสิ่งที่เกิดขึ้นจากความสัมพันธระหวางบุคคลที่มีความสนใจกับวัตถุที่นาสนใจ
สวนคีตส (Keats) นักคิดผูเชี่ยวชาญดานสุนทรียศาสตรที่มีชื่อคนหนึ่งไดนิยามความงามไวสั้นๆ วา “ความจริงคือความงาม และความงามก็คือความจริง” ซึ่งก็คลาย ๆ กับความคิดของชาวญี่ปุนที่ถือวาสิ่งที่สวยงามก็คือสิ่งที่ดีสิ่งที่นาเกลียดก็คือสิ่งที่เลวแตในยุคแหงวิทยาศาสตรเฟองฟู มีนักปราชญหลายทานไดใหความหมายความงามในทางชีววิทยา โดยอธิบายวา ความงามคือภาวะที่กระบวนการทางชีววิทยาของมนุษยถึงความสมบูรณเต็มที่ประดุจการคลี่บานของดอกไมเปนอาการที่มนินทรีย(จิตใจ) และกายินทรีย(รางกาย) กระทําการพิจารณาตัดสินสิ่งแวดลอมรอบตัวเองไดอยางสมบูรณครบถวน ซึ่งภาวะดังกลาวนี้เปนกิจกรรมที่จะปรากฏออกมาทางศิลปะ ฉะนั้น ความงาม จึงเปนรูปแบบกิจกรรมที่มนุษยใชเปนเครื่องมืออธิบายตนเองโดยสรางวัตถุภายนอกขึ้นมาแลวใส่ความหมายเชิงรูปแบบ (Formal meaning) ลงไปในวัตถุนั้น โดยสรุปแลว ความงามในทัศนะของนักปราชญตางมีความคลายคลึงกันโดยใหความสําคัญกับจิตใจของมนุษยที่สัมพันธกับวัตถุแหงสุนทรียะ จากนั้น จึงมีการ สรางกระบวนการใหความหมายในวัตถุสิ่งนั้นจนยอมรับกันวา เปนความงาม แตเมื่อกลาวถึงที่มาของความงาม ยอมมีความแตกตางกันอยางเห็นไดชัด

แหลงที่มาของความงาม
ความงาม แมวาจะถูกกลาวถึงในความหมาย หรือนิยามที่ตางกันและคลายคลึงกัน แตเมื่อมีการตั้งคําถามวา ความงามมาจากไหน ก็มีนักปราชญใหความสนใจ และพยายามหาคําตอบ โดยประมวลคําตอบมายอสรุปกลาวไดวา ความงามมีแหลงที่มาจาก 2 แหลงคือ ความงามที่มาจากธรรมชาติและความงามที่มาจากศิลปะซึ่งมนุษยสรางขึ้น

สุนทรียภาพกับการสร้างสรรค์ศิลปกรรม

สุนทรียภาพกับการสร้างสรรค์ศิลปกรรม
คนเราดำเนินชีวิตอยู่ในธรรมชาติสิ่งแวดล้อม มีชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคม มีโลกส่วนตัวที่เป็นตัวของตัวเอง มีอิสระเสรีภาพที่จะคิดที่จะทำ เพื่อความสุขและความพึงพอใจของเรา แต่ทั้งนี้ต้องไม่ส่งผลกระทบในทางลบต่อผู้อื่น ต่อสังคม ต่อธรรมชาติสิ่งแวดล้อม

สังคมแต่ละสังคมย่อมมีวัฒนธรรมที่ดีงามของตนเอง วัฒนธรรมที่เป็นวิถีการดำเนินชีวิต เป็นความดีงามต่อตนเองและต่อส่วนรวม วัฒนธรรมที่พัฒนาและสืบทอดกันมา ผ่านระบบครอบครัว ระบบสังคม ระบบการศึกษา
“ธรรมะ” ที่เป็นธรรมชาติ ธรรมดา ความดีงาม
“วัฒนะ” ที่คงอยู่ได้และพัฒนาให้เหมาะสม สอดคล้องกับสังคมและวิถีชีวิตทุกช่วงเวลา
เรามีศาสนาที่ล้วนมีคำสั่งสอนที่สอนให้เรามีคุณค่า มีจิตใจที่ดีงาม “แก่นธรรม” ของศาสนามักผสมผสานอยู่กับพิธีกรรมต่างๆ เราต้องรู้จักกลั่นกรอง รู้จักเลือกสรร เพื่อนำมาสู่การดำรงชีวิต
มี “ศรัทธา” ต่อศาสนา โดยมี “ปัญญา” ค้ำจุนศรัทธา มิใช่เป็นเพียงศรัทธาที่มีอวิชชาเข้าครอบงำ เรามีสังคมที่มีกติกา มีกฎหมาย มีระเบียบแบบแผนในการอยู่ร่วมกัน อารยสังคม คือสังคมที่อยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข มีแบบแผนที่งดงาม มีระบบการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ ให้คุณค่าต่อ การดำรงชีวิตและให้คุณแก่สังคม มีรสนิยมที่ดี มีศิลปวัฒนธรรมที่เจริญรุ่งเรือง เป็นภาพสะท้อนหรือพลังของความรู้สึกนึกคิด พลังของการอยู่ร่วมกันและพลังของการสร้างสรรค์สังคม

นอกจากคุณค่าของวัฒนธรรม ศาสนา และสังคมดังกล่าวแล้ว เหนือสิ่งอื่นใด ระบบครอบครัวย่อมเป็นหัวใจของวัฒนธรรม ศาสนา และสังคม ทุกสิ่งย่อมเริ่มต้นพัฒนาจากระบบครอบครัว การสืบทอดแบบแผนและวัฒนธรรม สำนึกในการเป็นคนและสำนึกในการอยู่ร่วมกันอย่างอารยชน ล้วนเริ่มต้นงอกงามขึ้นที่บ้าน

เสฐียรโกเศศ (พระยาอนุมานราชธน) กล่าวถึงความเป็นคนไทยว่า ความเป็นอันเดียวของชาวไทยและอะไรๆ ที่เป็นคุณสมบัติและเป็นบุคลิกลักษณะของชาวไทย จึงไม่ใช่สำคัญอยู่ที่เรื่องต้นเดิมของไทยอย่างเดียว ข้อที่สำคัญมากกว่าคือ อยู่ที่เรื่องวัฒนธรรม ที่ปั้นไทยให้ปรากฏเด่นว่าเป็นไทยโดยสมบูรณ์ และทำให้เห็นว่า แตกต่างไปจากชนชาวอื่นมีอย่างไร เราก็อาจตอบได้ในข้อนี้ว่า วัฒนธรรมไทยเกิดจากขนบธรรมเนียมประเพณีที่สืบๆ ต่อกันมาเป็นปรัมปรา อย่างที่เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Tradition หรือประเพณีปรัมปรา ซึ่งมีมาหลายกระแสหลายทาง ที่เข้ามาผสมปนปรุงกันเป็นอันหนึ่งอันเดียว เกิดเป็นวิถีชีวิตแห่งความเป็นอยู่ของชนชาวไทยให้เห็นเด่นโดยเฉพาะ (เสฐียรโกเศศ. ๒๕๓๑ : ๑๑๕)

คนเรามีความรู้สึกนึกคิด มีจิตใจที่ชื่นชมยินดี มีความรู้สึกหวั่นไหวต่อสิ่งกระทบทั้งหลาย มีรสนิยม มีความชื่นชมในความงาม ความไพเราะ ความสันติสุข เรามีประสาทสัมผัส (Sensibility) ที่จะรับรู้ความรู้สึกต่างๆ เรามีรสนิยม (Taste) ในการคิดและการเลือกสรรเพื่อสิ่งที่ดีที่สุดในชีวิต มีสุนทรียภาพ (Aesthetic) ที่ตอบรับหรือชื่นชมยินดีกับความงามทั้งหลาย เพื่อการดำรงชีวิตที่มีคุณภาพและชีวิตที่ประณีตงดงาม

มื่อเรามีสุนทรียภาพหรือมีปฏิกิริยาต่อความงามทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นธรรมชาติสิ่งแวดล้อม วัตถุ เหตุการณ์ การดำรงชีวิต สภาพแวดล้อมและปรากฏการณ์เหล่านั้นมีสภาพเป็นแรงบันดาลใจ (Inspiration) ที่จะกระตุ้นความรู้สึก กระตุ้นการรับรู้ เราจะแปรการรับรู้ไปสู่ความรู้สึกนึกคิด การชื่นชมยินดี การวิพากษ์ วิจารณ์ พร้อมกันนั้นก็จะพัฒนาความรู้สึกนึกคิดไปสู่การแสดงออก ไปสู่การสร้างสรรค์ เราอาจแสดงออกและสร้างสรรค์ได้ทุกด้านในชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการแสดงออกและสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ สร้างสรรค์ทางเทคโนโลยี สร้างสรรค์ทางสังคม ฯลฯ โดยมีพลังของสุนทรียภาพเป็นแรงสนับสนุน

อีกด้านหนึ่ง พลังสุนทรียภาพในตัวตนของเรา ได้ผลักดันให้เกิดการสร้างสรรค์ศิลปกรรมขึ้น ผู้ที่ชื่นชมการใช้สื่อตัวอักษรบรรยายจินตนาการก็จะสร้างสรรค์วรรณกรรม ผู้ชื่นชมการใช้สื่อเสียงก็จะสร้างสรรค์ดนตรี ผู้ชื่นชมการใช้สื่อร่างกายก็จะสร้างสรรค์ศิลปะการแสดง และผู้ชื่นชมการใช้สื่อวัตถุก็จะสร้างสรรค์ทัศนศิลป์และสถาปัตยกรรม ตามลักษณะเฉพาะของตน (Individuality)

ศึกษาค้นคว้าทางด้านศิลปกรรมศาสตร์ นอกจากการพัฒนาทางด้านสุนทรียศาสตร์เชิงปรัชญา ที่เป็นเรื่องจินตนาการ ความงาม การแสดงออก ความรู้สึกนึกคิด และการพัฒนาทางด้านสุนทรียศาสตร์เชิงวิทยาศาสตร์ ที่เป็นหลักการ เหตุผล การวางแผน การจัดระบบ เพื่อเป็นฐานหรือเป็นแรงผลักดันการสร้างสรรค์แล้ว อีกด้านหนึ่ง จำเป็นจะต้องพัฒนาสุนทรียภาพของผู้ศึกษาอีกด้วย เป็นการศึกษาที่เรียกว่า สุนทรียศึกษา (Aesthetic Education)

สังคมไทยได้รับกระแสอิทธิพลความคิดที่หลากหลาย ความหลากหลายนั้นก่อให้เกิดพลวัตขึ้นในสังคม ก่อให้เกิดการปรับตัวยืดหยุ่นอยู่ตลอดเวลา ซึ่งก็รวมทั้งปรัชญาความคิดจากจีน ญี่ปุ่น อินเดีย ตะวันตก ปรัชญาความคิดต่างๆ ได้ช่วยปรับและขัดเกลาวัฒนธรรมไทย จนก่อให้เกิดลักษณะเฉพาะตัวทางวัฒนธรรม ลักษณะเฉพาะตัวทางการดำรงชีวิต รวมทั้งสุนทรียภาพในชีวิตด้วย ลองศึกษาความคิดของเสาหลักความคิดท่านหนึ่งจากอินเดียคือ รพินทรนาถ ฐากูร ซึ่งก็มีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตและสุนทรียภาพในชีวิตของคนไทยไม่น้อย ท่านได้กล่าวถึงความงามที่สัมพันธ์กับสุนทรียภาพในชีวิต สุนทรียภาพส่วนตน ไว้ในบทนิพนธ์เรื่อง สาธนา ข้อความตอนหนึ่งกล่าวไว้ว่า

เราเข้าใจแจ้งในกฎของสัจธรรม โดยความเข้าใจต่อธรรมะและเราก็รู้แจ้งในกฎของความเหมาะสมกลมกลืน ด้วยความรู้สึกต่อความงาม การรู้จักกฎของธรรมชาติ ให้อำนาจและแรงงานทางวัตถุแก่เรา การรู้จักกฎของจริยธรรม ให้การชนะตนเองและอิสรภาพ เมื่อรู้กฎแห่งความกลมกลืน เราก็มีส่วนร่วมในความเบิกบานชื่นชมของโลกธาตุ ในศิลปะความงามก็แสดงออกอย่างทั่วไป ไม่มีขอบเขต เราจะเข้าใจชัดเจนและกว้างขวางในความสงบศานติสุขของวิญญาณ ก็ขณะเมื่อเรารู้ถึงความกลมกลืน อันมีภายในวิญญาณของเรา ความงามก็แสดงออกในชีวิตเราโดยทางคุณธรรมและความรัก มีจุดหมายคืออนันตภาพ นี่แหละคือจุดหมายสูงสุดของความเป็นอยู่ของเรา เราจะต้องรู้ชัดแจ้งว่า “ความงามคือสัจธรรมและสัจธรรมคือความงาม” เราจะต้องเข้าใจโลกแจ่มแจ้งด้วยความรัก เพราะว่าความรักให้กำเนิด ดำรงไว้และโอบมันเข้าสู่อ้อมอุระ เราจะต้องมีดวงใจเป็นอิสระอย่างแท้จริง อันจะทำให้เราสามารถเข้าหยั่งถึงกลางดวงใจของสรรพสิ่งและลิ้มรสความชื่นชมสูงสุด (ระวี ภาวิไล. ๒๕๑๗ : ๑๕๓ - ๑๕๔)

จุนิจิโร ทานิซากิ พรรณนาถึงความงามและรสนิยมของญี่ปุ่น รวมทั้งชาวตะวันออก เปรียบเทียบกับความงามของชาวตะวันตก ข้อความตอนหนึ่งใน เยิรเงาสลัว (In Praise of Shadows) กล่าวว่า
ในขณะที่โลกตะวันตก แม้กระทั่งผีก็ใสราวแก้ว เครื่องใช้ในบ้านก็ทำนองเดียวกัน เราชอบสีที่มีส่วนผสมของความมืด แต่ชาวตะวันตกชอบสีของแสงสว่าง ในกรณีเครื่องใช้ที่ทำด้วยเงินและทองแดง เรานิยมชมชื่นกับรอยเลื่อมและคราบคล้ำๆ ซึ่งชาวตะวันตกเห็นว่าสกปรก ไม่ถูกสุขลักษณะ และขัดเครื่องใช้ให้ขึ้นเงาเจิดจ้า ชาวตะวันตกนิยมทาเพดานและผนังด้วยสีอ่อนๆ เพื่อทำลายเงาสลัวให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ในขณะที่เราปลูกสวนให้เต็มไปด้วยไม้หนาทึบ ชาวตะวันตกกลับปลูกสนามหญ้าให้ลาดกว้างออกไป อะไรเป็นปัจจัยก่อให้เกิดความแตกต่างถึงเพียงนี้ ข้าพเจ้ามีความเห็นว่า เราชาวตะวันออกมักจะแสวงหาความพอใจจากสิ่งแวดล้อมที่เราอยู่
ดังนั้น ความมืดจึงไม่ได้สร้างความขัดเคืองแก่เรา เรายอมรับว่าความมืดเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ถ้าแสงมีอยู่น้อย เราก็ยอมรับว่ามีอยู่น้อย เราปล่อยตัวเราให้ซึมซาบในความมืด และ ณ ที่นั้น เราก็พบความงามตามแบบอย่างของมัน แต่ชาวตะวันตกผู้มีความคิดก้าวหน้า มีแต่จะพยายามทำให้ความเป็นอยู่ดีขึ้น จากเทียนไปสู่ตะเกียงน้ำมัน จากตะเกียงน้ำมันสู่ตะเกียงก๊าซ จากตะเกียงก๊าซสู่ไฟฟ้า การแสวงหาแสงสว่างของชาวตะวันตกมีไม่รู้จบสิ้น และยอมเผชิญหน้ากับอุปสรรคทุกอย่าง เพื่อกำจัดเงาสลัวแม้แต่เพียงเล็กน้อยให้หมดสิ้นไป (สุวรรณา วงศ์ไวศยวรรณ. ๒๕๐๗ : ๑๐๙ - ๑๑๐)

นักสุนทรียศาสตร์บางแนวคิดเชื่อว่า ความงามเป็น วัตถุวิสัยนิยม (Objectivism) นั่นหมายถึงว่า ความงามเป็นคุณสมบัติของวัตถุ ความงามอยู่ที่ตัววัตถุ อยู่ที่สรรพสิ่ง แม้เราไม่สนใจ ไม่ชื่นชม ความงามของสิ่งนั้นก็ยังมีอยู่ ไม่ว่าจะเป็นความงามของธรรมชาติ ขุนเขา ท้องทะเล ทุ่งหญ้า ผลงานจิตรกรรม นาฏศิลป์ ดนตรี ฯลฯ นักสุนทรียศาสตร์บางกลุ่มไม่เห็นด้วยกับแนวคิดข้างต้น เพราะเชื่อว่า ความงามเป็น จิตวิสัยนิยม (Subjectivism) ถือว่าตัวบุคคลเป็นแหล่งคุณค่าของความงาม ความงามเกิดจากความรู้สึกนึกคิดของเราเอง ความงามคือประสบการณ์สุนทรียะ ถ้าเราปราศจากเสียซึ่งจิตวิสัยทางความงาม ความงามของวัตถุที่มีอยู่จริงหรือไม่ก็ตาม ย่อมไร้ความหมาย ความงามอยู่ที่จิตใจของเรา เราเป็นผู้กำหนด นักสุนทรียศาสตร์บางกลุ่มก็รอมชอมความคิด คือผสานความคิดเข้าด้วยกันและเชื่อว่า ความงามหรือสุนทรียะเกิดขึ้นระหว่างความงามของวัตถุและความงามในจิตใจของเรา ความงามเกิดจากความสัมพันธ์ของวัตถุและสุนทรียภาพในตัวเรา ความงามของธรรมชาติ ความงามของภาพเขียน ความไพเราะงดงามของกวีนิพนธ์ อาจมีอยู่ แต่ตัวเราเองต้องมีศักยภาพในการชื่นชมหรือสื่อสารความงาม เราจึงจะสัมผัสกับความงามนั้นได้ วัดพระศรีรัตนศาสดารามหรือวัดพระแก้วอาจสวยงามอลังการ ต่อเมื่อเรามีสุนทรียภาพ เราจึงชื่นชมความงามวัด พระแก้ว ความเชื่อเช่นนี้ เป็นแนวทางของ สัมพัทธนิยม (Relationism) (อ่าน สุเชาว์พลอยชุม. ๒๕๒๓)

อย่างไรก็ตาม สุนทรียภาพหรือความงามในตัวตนของเรา ย่อมมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิต ทั้งชีวิตส่วนตนและชีวิตในสังคม สุนทรียภาพอาจเป็นภาพของความงามที่เกิดขึ้นในการรับรู้หรือในจิตใจ สุนทรียภาพอาจเป็นเสมือนคุณภาพที่จะใช้ตรวจสอบหรือสื่อสารกับความงาม
เมื่อกล่าวถึงคุณภาพในบุคคล ก็ย่อมมีดีกรีความแตกต่างมากหรือน้อยด้วยเช่นกัน สุนทรียภาพก่อให้เกิดความสุข ก่อให้เกิดความปีติ ก่อให้เกิดสันติสุข เป็นความรู้สึกที่เป็นนามธรรม แบ่งปันใครไม่ได้ ไม่มีผลประโยชน์ทางกายภาพ ทางวัตถุ หรือทางธุรกิจใดใด เป็นโลกส่วนตัวที่มีคุณค่าและมีความหมายต่อชีวิต แม้เราจะปราศจากหรืออ่อนด้อยในสุนทรียภาพ ชีวิตก็คงดำรงอยู่ได้ แต่เรากำลังสูญเสียศักยภาพที่มีความหมายยิ่งในชีวิต พร้อมกันนั้น “ความหมาย” ในการเป็นมนุษย์อาจอยู่ที่คุณค่าของ “สุนทรียภาพ” ในตัวตนด้วยเช่นกัน